ความเป็นมาและลักษณะการใช้งาน
โรงงานผลิตเครื่องใช้พลาสติกมีการใช้เครื่องฉีดพลาสติกหลักอยู่ 11 เครื่อง ใช้งาน 24 ชั่วโมงต่อวัน และ 330 วันต่อปี โดยเครื่องฉีดพลาสติกทั้งหมดเป็นแบบ Hydraulic Pump ใช้พลังงานสูง และยังไม่เคยทำมาตรการประหยัดพลังงานมาก่อน
ปัญหาของอุปกรณ์/ระบบก่อนปรับปรุง
วัสดุท่อฉีดพลาสติกของเครื่องฉีดพลาสติกทั้งหมด ไม่ได้ทำการหุ้มฉนวน ทำให้อุณหภูมิที่ผิวของชุด Electrical Heater มีค่าเฉลี่ยประมาณ 250oC
รูปแสดง Electrical Heater ของเครื่องฉีดพลาสติก Nissei 360T
โรงงานมีแนวคิดหุ้มฉนวนชุด Electrical Heater ของเครื่องฉีดพลาสติก เพื่อลดการสูญเสียความร้อนในกระบวนการผลิต โดยพิจารณาติดตั้งทดสอบกับเครื่องขนาด 360T ตัน จำนวน 1 เครื่อง ประกอบด้วยลำดับขั้นตอนการดำเนินการต่าง ๆ ดังนี้
- ทำการตรวจวัดค่าอุณหภูมิที่ผิว Electrical Heater เครื่องฉีดพลาสติกก่อนการหุ้มฉนวน
- วัดหาขนาดของชุด Electrical Heater (Diameter)
- หุ้มฉนวนด้วยเซรามิกไฟเบอร์ที่มีความหนาไม่น้อยกว่า 1 นิ้ว
- ทำการตรวจวัดค่าอุณหภูมิที่ผิวท่อเครื่องฉีดพลาสติกหลังจากการหุ้มฉนวน
- ทำการตรวจสอบดูว่าผลกระทบของผลิตภัณฑ์หลังจากการหุ้มฉนวน และปรับค่าอุณหภูมิของเครื่องฉีดพลาสติกให้เหมาะสม
การดำเนินการมาตรการหุ้มฉนวน Electrical Heater เครื่องฉีดพลาสติกเพื่อลดการสูญเสียความร้อนในกระบวนการผลิต และยังทำให้อากาศภายในโรงงานเย็นลง
รูปภาพ การติดตั้งฉนวนกับเครื่องฉีดพลาสติก Nissei 360T
วิธีการคำนวณผลการอนุรักษ์พลังงาน
จำนวนเครื่องฉีดพลาสติกที่จะทำการหุ้มฉนวน
= 1 เครื่อง
จำนวนชั่วโมงการทำงาน
= 24 ชั่วโมง/วัน
= 330 วัน/ปี
อุณหภูมิที่ผิว(โดยเฉลี่ย),Ts
= 250 oC
ความยาวของชุด Electrical Heater,L (ช่วงที่ 1)
= 1.2 m
รัศมีภายนอกของสกรู(19 cm.) , R
= 0.095 m
พื้นที่ผิวของชุด Electrical Heater ก่อนหุ้มฉนวน, As
= 44 x R x จำนวนเครื่อง x L/7
= 44 x 0.095 x 1 x 1.2/7
= 0.716 m2
ความยาวของชุด Electrical Heater,L (ช่วงที่ 2)
= 0.13 m
รัศมีภายนอกของสกรู(25 cm.) , R
= 0.125 m
พื้นที่ผิวของชุด Electrical Heater ก่อนหุ้มฉนวน, As
= 44 x R x จำนวนเครื่อง x L/7
= 44 x 0.125 x 1 x 0.13/7
= 0.102 m2
อุณหภูมิอากาศภายนอก, Tair
= 35 oC
ค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อน, ho
= 10 W/m2K
การสูญเสียปริมาณความร้อนคำนวณจากสมการ Q
= Asho(Ts-Tair )
การใช้พลังงานก่อนปรับปรุง
ค่าการสูญเสียปริมาณความร้อนก่อนหุ้มฉนวน Q1
= (0.716+0.102) x 10 x (250-35)
= 1.76 kW
การใช้พลังงานหลังปรับปรุง
ความหนาของฉนวน, tins
= 0.025 m
อุณหภูมิที่ผิวของ Heater หลังหุ้มฉนวน, Ts2
= 70 oC
ความหนาของฉนวน, tIns
= 0.025 m
พื้นที่ผิวของชุด Electrical Heater ก่อนหุ้มฉนวน, A1
= 44 x R x จำนวนเครื่อง x L/7
= 44 x (0.095+0.025) x 1 x 1.2/7
= 0.905 m2
พื้นที่ผิวของชุด Electrical Heater ก่อนหุ้มฉนวน, A2
= 44 x R x จำนวนเครื่อง x L/7
= 44 x (0.125+0.025) x 1 x 0.13/7
= 0.123 m2
ค่าการสูญเสียปริมาณความร้อนหลังหุ้มฉนวน Q2
= (0.905+0.123) x 10 x (70-35)
= 0.36 kW
ผลประหยัดพลังงาน
ดังนั้นจะลดการสูญเสียความร้อนได้ (Q1-Q2)
= 1.76 – 0.36
= 1.4 kW
พลังงานไฟฟ้าที่ประหยัดได้
= 1.4 x 24 ชม./วัน x 330 วัน/ปี
= 11,088 kWh/ปี
ค่าไฟฟ้าที่ประหยัดได้
= 11,088 x 3.47 บาท/ปี
= 38,475.36 บาท/ปี
คิดเป็นผลประหยัดจากพลังงาน
= 0.945 toe/ปี
ผลประหยัดพลังงานจริง
หลังจากร่วมกันพิจารณาทางโรงงานเลือกติดตั้งเพียง 1 เครื่อง เพื่อทดสอบเสถียรภาพของฉนวนคือ เครื่อง Nisei 360 T
กราฟการใช้พลังงานก่อนติดตั้งฉนวนกับเครื่อง Nissei 360T
กราฟการใช้พลังงานหลังติดตั้งฉนวนกับเครื่อง Nissei 360T
= 4.7 kW/hr.
= 4.7 x 24 ชม./วัน x 330 วัน/ปี
= 37,224 kWh/ปี
พลังงานไฟฟ้าหลังติดตั้ง
= 2.73 kW/hr.
= 2.73 x 24 ชม./วัน x 330 วัน/ปี
= 21,621.6 kWh/ปี
พลังงานไฟฟ้าที่ประหยัดได้
= 37,224 - 21,621.6
= 15,602.4 kWh/ปี
ค่าไฟฟ้าที่ประหยัดได้
= 15,602.4 x 3.47 บาท/ปี
= 54,140.33 บาท/ปี
คิดเป็นผลประหยัดจากพลังงาน
= 1.329 toe/ปี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น