ความเป็นมาและลักษณะการใช้งานพลังงาน
ในกระบวนการผลิตส่วนของโรงงาน 2 จะใช้ลมจากเครื่องอัดอากาศขนาด 10 HP 1 เครื่อง ในส่วนของแผนกประกอบพัดลม และเครื่องฉีดพลาสติก รวมถึงการเป่าทำความสะอาดพื้นที่ทำงาน โดยผลิตแรงดันอากาศอัดที่ประมาณ 7.5 บาร์
ปัญหาของอุปกรณ์ / ระบบก่อนปรับปรุง
จากการตรวจสอบพบว่าเครื่องอัดอากาศมีการปรับตั้งแรงดันอากาศอัดไว้สูงถึง 7.5 บาร์ ซึ่งในการใช้งานของแผนกประกอบ และเครื่องฉีดพลาสติกจะใช้ลมไม่เกิน 5 บาร์
รูปแสดง สถานที่ตั้งเครื่องอัดอากาศ และความดันลมที่ปรับตั้งก่อนปรับปรุง
ทางโรงงานและทีมที่ปรึกษามีแนวคิดร่วมกันว่าควรปรับตั้งแรงดันอากาศอัดลดลงจาก 7.5 บาร์ เป็น 6 บาร์
สภาพหลังปรับปรุง
รูปแสดง สถานที่ตั้งเครื่องอัดอากาศ และความดันลมที่ปรับตั้งหลังปรับปรุง
สภาพหลังปรับปรุง
โรงงานทำงานวันละ 15 ชั่วโมง 312 วัน/ปี ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย 3.90 บาท
หลังจากดำเนินการ และตรวจวัดจริง
กำลังไฟฟ้าเฉลี่ยของเครื่องอัดอากาศขนาด 10 HP ที่แรงดันปรับตั้ง 7.5 บาร์
= 6.19 kW
กำลังไฟฟ้าเฉลี่ยของเครื่องอัดอากาศขนาด 10 HP ที่แรงดันปรับตั้ง 6.0 บาร์
= 4.75 kW
สามารถประหยัดได้
= 6.19 – 4.75 kW
= 1.44 kW
= (1.44 x 15 x 312 x 40%)
= 2,695.68 kW/ปี
คิดเป็นเงินที่ประหยัดได้
= (2,695.68 x 3.90)
= 10,513.15 บาท/ปี
เทียบเท่าตันน้ำมันดิบ
= (2,695.68 x 0.00008521)
= 0.229 toe/ปี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น