ความเป็นมาและลักษณะการใช้งานพลังงาน
ในกระบวนการผลิตถุงมือยางจะมีความจำเป็นต้องใช้ Chiller ผลิตน้ำเย็นอุณหภูมิ 13 °C ส่งไปหล่อเย็นน้ำยางเพื่อให้น้ำยางมีประสิทธิภาพสูงสุดในการจับติดกับแม่พิมพ์ โดยทางโรงงานมี Chiller ทั้งหมดจำนวน 3 เครื่อง แบ่งเป็นขนาด 22 ตัน จำนวน 2 เครื่อง และ 16 ตัน จำนวน 1 เครื่อง ซึ้งทั้งหมดเป็นชนิดระบบที่ระบายความร้อนด้วยอากาศ
ปัญหาของอุปกรณ์ / ระบบก่อนปรับปรุง
จากการตรวจสอบพบว่า Chiller มีสภาพเก่าและการระบายความร้อนของคอนเดนเซอร์ได้ไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้คอมเพรสเซอร์ทำงานหนักขึ้น ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำความเย็นต่ำ และเกิดการสูญเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์ ในบางครั้งที่มีการผลิตเต็มที่อาจทำอุณหภูมิได้ไม่ถึงค่าที่ตั้งไว้
จากการตรวจสอบพบว่าหากทำให้การระบายความร้อนของคอนเดนเซอร์ดีขึ้น จะทำให้ประสิทธิภาพการทำความเย็นดีขึ้นตามไปด้วย โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้
1.ตรวจวัดค่าการใช้พลังงานของ Chiller ทั้งหมด
2.วัดขนาดของชุด Condensing Unit เพื่อออกแบบชุด Evaporative Cooling Plate
3.คำนวณความคุ้มทุนในการติดตั้ง Evaporative Cooling Plate
4.ศึกษาความคุ้มค่าจากกรณีศึกษาของสถานประกอบการที่ทำมาแล้ว
5.ดำเนินการติดตั้ง
สภาพหลังปรับปรุง
หลังที่โรงงานได้ดำเนินการปรับปรุงแล้ว มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ มีการทำงานที่เบาลงโดยมีการช่วงเวลาตัดการทำงานที่นานขึ้น และการใช้พลังงานที่จังหวะโหลดลดลงเล็กน้อย
หากโดรงงานมีความพร้อมในการลงทุน ควรพิจารณาเปลี่ยน Chiller โดยุบเป็น 60 ตันเพียง 1 เครื่อง จะประหยัดพลังงานได้มากกว่านี้ เนื่องจากเครื่องที่ใช้งานปัจจุบัน มีประสิทธิภาพต่ำ
วิธีการคำนวณผลการอนุรักษ์พลังงาน
ผลประหยัดพลังงาน
พลังงานไฟฟ้าที่ประหยัดได้
= 154,440 kWh/ปี
คิดเป็นค่าใช้จ่ายที่ประหยัดได้
= 154,440 x 3.2
= 494,208 บาท/ปี
เทียบเท่าตันน้ำมันดิบ
= 154,440 x 0.00008521
= 13.160 toe/ปี
ใช้โอโซน ด้วยจะทำให้ไม่มีกลิ่น ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นด้วยครับ
ตอบลบลองแวะชมรายละเอียดได้ครับ
www.ozone.siamvip.com