วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

มาตรการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมภาระการใช้งานขอมอเตอร์ไฮดรอลิคเครื่องเป่าพลาสติก

ชื่อมาตรการการอนุรักษ์พลังงาน : มาตรการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมภาระการใช้งานขอมอเตอร์ไฮดรอลิคเครื่องเป่าพลาสติก

ความเป็นมาและลักษณะการใช้งานพลังงาน
เครื่องเป่าพลาสติกมีการใช้งานอินดักชั่นมอเตอร์อยู่ 2 ส่วนหลักๆ คือระบบสกรูซึ่งโดยมากจะมีการใช้งานอินเวอร์เตอร์เพื่อปรับรอบอยู่แล้วทำให้เกิดการประหยัดพลังงานส่วนหนึ่ง แต่ในส่วนที่สองคือมอเตอ์ไฮดรอลิคที่มีการใช้งานไม่เต็มประสิทธิภาพ ผู้ประกอบการควรหาแนวทางประหยัดพลังงานในส่วนนี้

ปัญหาของอุปกรณ์ / ระบบก่อนปรับปรุง
จากการตรวจสอบพบว่ามอเตอร์ไฮดรอลิคของเครื่องเป่าพลาสติกขนาด 50 ลิตร มีค่าเพาเวอร์แฟกเตอร์ 0.31 ซึ่งถือว่ายังมีการทำงานที่ไม่เต็มประสิทธิภาพ และใช้พลังงาน 4.46 kW/Hr. หรือ 35,323.2 kWHr/ปี คิดเป็น 115,153.6 บาท/ปี  โดยโรงงานจะมีเครื่องเป่าพลาสติกรุ่นนี้จำนวน 4 เครื่อง


รูปแสดง เครื่องเป่าพลาสติกขนาด 50 ลิตร

การแสดง ค่าพารามิเตอร์ทางไฟฟ้าของมอเตอร์ไฮดรอลิก ขนาด 22 kW

แนวคิดและขั้นตอนดำเนินการ
เนื่องกลุ่มที่ปรึกษามีแนวคิดที่จะประหยัดพลังงานในส่วนของมอเตอร์ไฮดรอลิค โดยมีการทดสอบก่อนติดตั้งจริง ซึงมีขั้นตอนดำเนินการดั้งนี้
  1. ตรวจวัดค่าการใช้พลังงานของเครื่องเป่าพลาสติก
  2. ติดตั้งทดสอบอุปกรณ์ประหยัดพลังงานกับมอเตอร์ไฮดรอลิคของเครื่อง เพื่อคำนวณหาจุดคุ้มทุน
  3. นำเสนอผู้บริหารเพื่อผลักดันให้เกิดการลงทุน

สภาพหลังปรับปรุง


รูปแสดง การติดตั้งทดสอบอุปกรณ์ควบคุมภาระการใช้งานขอมอเตอร์ไฮดรอลิคเครื่องเป่าพลาสติก






วิธีการคำนวณผลการอนุรักษ์พลังงาน

กราฟแสดง ค่าพลังงานของมอเตอร์ไฮดรอลิกขนาด 22 kW เปรียบเทียบก่อนและหลังติดตั้ง


การใช้พลังงานก่อนปรับปรุง


กราฟแสดง ค่าพลังงานของมอเตอร์ไฮดรอลิกขนาด 22 kW ก่อนติดตั้ง

ค่ากำลังไฟฟ้าเฉลี่ยก่อนการปรับปรุงของมอเตอร์ไฮดรอลิคขนาก 22 kW
=             4.46                                        kW
ค่ากำลังไฟฟ้าเฉลี่ยก่อนการปรับปรุง 4 เครื่อง
=             17.84                                     kW                                                        
=             (17.84 x 24 x 330 )
=             141,292.80                           kWh/ปี


การใช้พลังงานหลังปรับปรุง



กราฟแสดง ค่าพลังงานของมอเตอร์ไฮดรอลิกขนาด 22 kW หลังติดตั้ง

ค่ากำลังไฟฟ้าเฉลี่ยก่อนการปรับปรุงของมอเตอร์ไฮดรอลิคขนาก 22 kW
=             3.86                                        kW
ค่ากำลังไฟฟ้าเฉลี่ยก่อนการปรับปรุง 4 เครื่อง
=             15.44                                     kW                                                        
=             (15.44 x 24 x 330 )
=             122,284.80                           kWh/ปี





ผลประหยัดพลังงาน
พลังงานไฟฟ้าที่ประหยัดได้                            
=             19,008                                   kWh/ปี
อัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยต่อหน่วยของโรงงาน     
=             3.26                                        บาท/kWh
คิดเป็นเงินที่ประหยัดได้                                         
=             (19,008 x 3.26)
=             61,966.08                             บาท/ปี
เทียบเท่าตันน้ำมันดิบ                                        
=             (19,008 x 0.00008521)
=             1.620                                     toe/ปี

1 ความคิดเห็น:

  1. ผมขอรายละเอียดได้ไหมคับ ติดตั้งทดสอบอุปกรณ์ประหยัดพลังงานกับมอเตอร์ไฮดรอลิคของเครื่อง อุปกรณืที่ว่านี้ มีอะไรบ้างคับ

    ตอบลบ