วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กรณีศึกษาการปิดหลอดไฟในบริเวณพื้นที่ที่ไม่จำเป็นหรือไม่ได้ใช้งาน

การปิดหลอดไฟในบริเวณพื้นที่ที่ไม่จำเป็นหรือไม่ได้ใช้งาน
ความเป็นมาและลักษณะการใช้งาน

ทางสถานประกอบการ เป็นโรงงานผลิตอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ ซึ่งในกระบวนการผลิตจะมีการใช้พลังงานในส่วนของระบบแสงสว่าง สำหรับให้ความสว่างภายในโรงงาน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ขนาด 36 วัตต์ และ หลอด HID (หลอดแสงจันทร์) 400 วัตต์ โดยหลอด HID (หลอดแสงจันทร์) จะใช้ในบริเวณของส่วนงานผลิต แผนก Stamp

ภาพหลอด HID (หลอดแสงจันทร์) ที่อยู่ด้านบนเพดาน Office

หลังปรับปรุงมีการปิดวงจรถาวร

ปัญหาของระบบก่อนการปรับปรุง

ในบริเวณพื้นที่ของสายการผลิต แผนก Stamp มีหลอด HID (หลอดแสงจันทร์) 400 วัตต์ ทั้งหมด 38 หลอด มี 6 หลอด อยู่ในตำแหน่งด้านบนของเพดานของแผนก Grinding ซึ่งแสงไม่ได้ตกลงบนพื้นที่ทำงานจึงไม่มีความจำเป็นต้องเปิดหลอดเหล่านี้

แนวคิดและขั้นตอนการดำเนินงาน

ทำการกำหนดผู้รับผิดชอบและกำหนดเวลาในการเปิด-ปิดของโคมไฟฟ้าในแต่ละพื้นที่ให้ชัดเจน โดยชี้แจงให้พนักงานที่ปฏิบัติงานในแต่ละพื้นที่นั้นได้รับทราบถึงในกรณีพื้นที่ที่ไม่มีการปฏิบัติงาน ให้พนักงานที่อยู่ในพื้นที่นั้นต้องช่วยกันดูแลเรื่องการเปิด-ปิดโคมไฟฟ้าที่ไม่มีการใช้งาน

สภาพหลังการปรับปรุง

มีการกำหนดให้ปิดวงจรที่ 17 และ 19 ของโหลดเซ็นเตอร์ ซึ่งไม่มีความจำเป็นต้องเปิดเลย ครอบคุมพื้นที่บริเวณด้านบนเพดานของแผนก Grinding ซึ่งหลังจากดำเนินมาตรการแล้วไม่มีผลกระทบต่อพนักงานและกระบวนการผลิต

วิธีการคำนวณผลการอนุรักษ์พลังงาน

หลอด HID ขนาด = 400 วัตต์ จำนวน 6 หลอด

กำลังไฟฟ้าสูญเสียของบัลลาสต์ = 50 วัตต์/หลอด

กำลังไฟฟ้าที่ใช้ = ((400 + 50) x 6) / 1,000

= 2.70 kW

ชั่วโมงการเปิดใช้งาน = 24 ชั่วโมง/วัน

วันทำงาน = 336 วัน/ปี

คิดเป็นพลังงานไฟฟ้าที่ลดลงทั้งหมด = (2.70 x 24 x 336)

= 21,772.80 kWh/ปี

ค่าพลังงานไฟฟ้าเฉลี่ย = 2.97 บาท/kWh

= 64,665.22 บาท/ปี


สรุปมาตรการอนุรักษ์พลังงาน การปิดหลอดไฟในบริเวณพื้นที่ที่ไม่จำเป็นหรือไม่ได้ใช้งาน

เงินลงทุน - บาท

ผลที่ประหยัดได้ 21,772.80 kWh/ปี

1.86 toe/ปี

คิดเป็นเงินที่ประหยัดได้ 64,665.22 บาท/ปี

ระยะเวลาคืนทุน คืนทุนทันที

กรณีตัวอย่างการบริหารการเดินเครื่องอัดอากาศให้เหมาะสม

การบริหารการเดินเครื่องอัดอากาศให้เหมาะสม

ความเป็นมาและลักษณะการใช้งาน

สถานประกอบการ มีเครื่องอัดอากาศจำนวน 3 เครื่องขนาด 37 kW 2 เครื่อง และ 55 kW 1 เครื่อง โดยทางโรงงานได้นำเครื่องอัดอากาศไปใช้กับเครื่องจักร เช่น เครื่อง Press ชิ้นงาน เป็นต้น

ภาพพื้นที่ติดตั้งเครื่องอัดอากาศ


ปัญหาของระบบก่อนการปรับปรุง

เนื่องจากเครื่องอัดอากาศจำนวนทั้งหมด 3 เครื่อง ทำงานพร้อมกันจำนวน 2 เครื่อง โดยให้เครื่อง 55 kW เดินเป็นหลัก และ 37 kW สลับกันเดินครั้งละ 1 เดือน จากการตรวจวัดและการสังเกต ทำให้พบว่าเครื่องอัดอากาศขนาด 37 kW NO. 2 ใช้พลังงานสูงกว่า No.1 ทั้งๆ ที่มีการปรับตั้งเหมือนกัน อาจเป็นเพราะมีอุปกรณ์บางส่วนชำรุดทำให้ประสิทธิภาพการอัดอากาศตกลง และกินไฟมากกว่าเดิม

แนวคิดและขั้นตอนการดำเนินงาน

ทางทีมงานเกิดแนวคิดที่จะลดความสูญเสียดังกล่าว โดยการให้โรงงานเลือกเดินเครื่องอัดอากาศที่กินพลังงานน้อยที่สุด โดยเบื้องต้นทีมที่ปรึกษาได้ตรวจจับการใช้พลังงานของเครื่องอัดอากาศทั้งสามเครื่องพบว่า โรงงานควรเดินเครื่อง อัดอากาศ NO. 3 (55 kW) กับ NO. 1 (37 kW) และในวันที่มีการผลิตไม่เต็มกำลังการผลิตโรงงานสามารถเดินเครื่องอัดอากาศ No. 3 (55 kW) เพียงเครื่องเดียวได้ เพราะเครื่อง 37 kW จะทำงาน Unload ตลอดเวลา

วิธีการคำนวณผลการอนุรักษ์พลังงาน
ข้อมูลที่ใช้ประกอบการคำนวณ

หน่วยค่าไฟฟ้าคิดที่ 2.97 บาท/หน่วย

ทำงาน 24 ชม./วัน

ทำงาน 336 วัน/ปี

เครื่องอัดอากาศ No. 1 (37 kW)ใช้พลังงานเฉลี่ย 19.96 kW
เครื่องอัดอากาศ No. 2 (37 kW)ใช้พลังงานเฉลี่ย 30.77 kW
เครื่องอัดอากาศ No. 3 (55 kW)ใช้พลังงานเฉลี่ย 41.34 kW

ดังนั้น

พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ก่อนปรับปรุง = [(41.34+30.77) kW x 24 x 336/2] + [(41.34+19.96) kW x 24 x 336/2] kWh/ปี

= 537,909.12 kWh/ปี

= 1,597,590.09 บาท/ปี


พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ก่อนปรับปรุง = [(41.34+19.96) kW x 24 x 336] kWh/ปี

= 494,323.20 kWh/ปี

= 1,468,139.90 บาท/ปี


ผลประหยัดหลังปรับปรุง = 43,585.92 kWh/ปี

= 129,450.18 บาท/ปี


หมายเหตุ หากโรงงานมีการผลิตไม่เต็มกำลังควรเดินเครื่องอัดอากาศ No. 3 เพียงเครื่องเดียวจะประหยัดพลังงานเพิ่มอีกชั่วโมงละ 19.96 kW คิดเป็นเงิน 59.28 บาท หรือ 1,422.75 บาทต่อวัน

สรุปมาตรการอนุรักษ์พลังงาน การลดการใช้งานอากาศอัดที่ไม่เหมาะสม

เงินลงทุน - บาท

ผลที่ประหยัดได้ 43,585.92 kWh/ปี 3.71 toe/ปี

ประหยัดได้ (ค่าไฟฟ้า 2.97 บาท/หน่วย) 129,450.18 บาท/ปี

ระยะเวลาคืนทุน - ปี